fbpx
ประกันชีวิตในอเมริกา
ประกันชีวิตในอเมริกา

Traditional IRA คืออะไร

IRA คืออะไร วันนี้จะมาบอกเล่าให้ฟังหลักเบื้องต้นกันนะคะ  IRA นั้นย่อมาจาก Individual Retirement Account  เป็นหนึ่งใน Non qualified retirement plan เพราะไม่ได้มี sponsor จาก employer ที่ IRS ได้จำแนกไว้ หากใครที่มีรายได้ส่วนตัว หรือว่าทำงานกับบริษัทห้างร้านเล็กที่ไม่ได้มีแพลน 401K ให้ก็สามารถเปิด account นี้ได้ผ่านทาง brokerage account หรือ bank ที่คุณใช้บริการได้เลยค่ะ หรืออีกวิธีการหนึ่ง คือ roll over ออกมาจาก 401K หรือ qualified retirement plan แบบอื่นๆ ในกรณีที่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างที่มี retirement plan ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เลิกจ้างหรือว่าเกษียณอายุ มาดูกันว่า Secure Act 2.0 มีอะไรอัพเดทบ้าง

เงื่อนไขในการฝากเงิน 2024-2025

วงเงินสูงสุดที่ใส่ได้:

  • 2025: $7,000/ปี (อายุต่ำกว่า 50)
  • 2025: $8,000/ปี (อายุ 50+)

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษี 2024:

ถ้าไม่มี Employer Plan:

  • ลดหย่อนได้เต็มจำนวนไม่ว่ารายได้เท่าไหร่

ถ้ามี Employer Plan:

  • โสด:
    • AGI ต่ำกว่า $77,000 = ลดหย่อนเต็มจำนวน
    • AGI $77,000-$87,000 = ลดหย่อนบางส่วน
    • AGI เกิน $87,000 = ลดหย่อนไม่ได้
  • สมรส (ยื่นรวม):
    • AGI ต่ำกว่า $123,000 = ลดหย่อนเต็มจำนวน
    • AGI $123,000-$143,000 = ลดหย่อนบางส่วน
    • AGI เกิน $143,000 = ลดหย่อนไม่ได้

กฏและข้อจำกัดของ Traditional IRA

  • ถอนเงินออกได้ เมื่ออายุ 59 1/2 ปี หากถอนออกมาก่อน จะโดน penalty 10% (IRS-Hardships, early withdrawals ) ยกเว้นมีเหตุฉุกเฉิน เช่น
    • A first-time home purchase (up to $10,000)
    • Disaster recovery up to $22,000
    • Domestic abuse up to $10,000
    • A birth or adoption expense (up to $5,000)
    • A qualified education expense
    • A death, disability or terminal illness
    • For health insurance (if you are unemployed)
    • Some medical expenses
      แต่มีจำนวนหรือ limit ของการถอนเงินจาก IRA อยู่อยู่ อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่

SECURE Act 2.0: การเปลี่ยนแปลงสำคัญ

หยกขอสรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดจาก SECURE Act 2.0 แบบสรุปสั้นนะคะ:

1. RMD Age เพิ่มขึ้น

  • เดิม: ต้องเริ่มถอน RMD อายุ 72 ปี
  • ใหม่ (2023): อายุ 73 ปี
  • 2033: จะเพิ่มเป็นอายุ 75 ปี

2. Catch-Up Contributions (NEW!)

  • 2025 เป็นต้นไป: อายุ 60-63 ใส่เพิ่มได้มากกว่าเดิม
  • จาก $1,000 เพิ่มเป็น $1,500 (ปรับตาม inflation)
  • รวมใส่ได้สูงสุด $8,500/ปี สำหรับอายุ 60-63

3. โทษ RMD ลดลง

  • เดิม: ปรับ 50% ของยอดที่ไม่ได้ถอน
  • ใหม่: ปรับเหลือ 25% เท่านั้น
  • ถ้าแก้ไขภายใน 2 ปี ปรับเหลือแค่ 10%

4. Spousal Beneficiary ยืดหยุ่นขึ้น

  • คู่สมรสสามารถเลือกถือเป็น IRA ของตัวเองได้
  • ไม่ต้องถอนตาม RMD จนกว่าจะถึงอายุ RMD ของตัวเอง

สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนเปิด IRA account

  • การเปิด IRA ทำได้ง่ายๆ สามารถเดินไปเปิดผ่าน bank ที่คุณใช้อยู่ หรือง่ายหน่อยคือ เปิดกับ broker online ได้เลย
  • หลังจากเปิด IRA account แล้วคุณต้องเลือกการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นจากหุ้น หรือกองทุน ฯลฯ
  • คิดว่า IRAs contribution เป็น Tax deduction คุ้มกับการเปิดบัญชี เพียงแค่เอาไว้หักภาษีส่วนบุคคลตอนสิ้นปี 

ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่ควรจะรู้

  • Roll-over ภายใน 60 วัน : ในกรณีที่คู่สมรสที่เป็นเจ้าของ IRA account เสียชีวิต survivor spouse ต้องทำการ roll-over เงินไปอยู่ใน IRA ของตนเอง ภายใน 60 วัน
  • เงินที่เก็บใน IRA เป็น before tax dollar ฉะนั้นตอน withdraw ออกมาใช้ก็ต้องจ่ายภาษีตาม ordinary income tax rate คือเสียภาษีตามฐานรายได้ ไม่ใช่ capital gain 
  • ไม่เหมาะที่จะเก็บไว้เป็นมรดกให้ลูก หลาน มันเป็นความยุ่งยากอย่างหนึ่ง การให้ non-spouse, อย่างบุตร หลาน เป็น designated beneficiary ก็สามารถทำได้โดยแบ่งออกเป็น 2 กรณี :
    • บุตร หลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ(age of majority) อายุ ต่ำกว่า 18-25 ปี แล้วแต่รัฐ ไม่สามารถ inherit IRA ได้ จำต้องแต่ตั้งผู้ดูแล custodian – legal guardian ถึงจะสามารถ inherit IRA ได้
    • ในกรณีที่บุตร-หลานบรรลุนิติภาวะ สามารถ distribution หรือต้องนำเงินออกมาได้ภายใน 10 ปี หรือสามารถทิ้งไว้ใน account จนกระทั่งปีที่ 10 จึงนำเงินออกมาทีเดียวก็ได้ แต่ถ้าไม่สามารถนำเงินออกมาหมดภายใน 10 ปี จะถูกปรับ 50%
      • ข้อยกเว้นบางประการสำหรับกฎ 10 ปีนี้ หลานที่ทุพพลภาพหรือป่วยเรื้อรังอาจจะสามารถ distribute หรือนำเงินออกตลอดช่วงชีวิตได้
  • เงินใน IRA ไม่สามารถ Loan ออกมาได้เหมือนแพลนที่มีสปอนด์เซอร์ อย่าง 401(k), 403(b) and 457(b) เพราะ IRAs จัดว่าเป็นแพลนแบบ M-150 (🤣 อันนี้ล้อเล่นขำๆ นะคะ ) คือเป็น base plan [plan loan, IRS]

ข้อดีคือ

  • เงินที่เติบโตจากการลงทุนใน Traditional IRA เป็น Tax deferred คือยังไม่มีการจ่ายภาษีจนกว่าจะ withdraw หรือถอนเงินออกมาใช้
  • เวลาเกษียณนั้น ถอนเงินออกมาไม่จำกัด จะเอาออกน้อยออกมากตามใจพี่เลย!!
  • เงินที่ contribute เข้าไปใน IRA สามารถนำมาหักภาษีได้
  • เลือกการลงทุนภายใน IRA ได้หลากหลาย 
ไม่ได้คิดดังนะ!

ข้อด้อยของ IRA account 

  • หากนำเงินออกมาใช้ก่อนอายุ 59 1/2 โดน 10% penalty ยกเว้นมีเหตุจำเป็นดังที่กล่าวข้างบน
  • หากเลือกการ investment ในหุ้น หรือ กองทุน เงินสะสมใน IRA account จะผันผวนตามตลาด
  • ค่า fee ในการบริหารจัดการ account เป็นแบบเสียเปล่า : แน่นอนว่าหากใครไม่ถนัด ในการลงทุน อาจจะให้ broker บริหารจัดการให้ จะมีค่า Fee ในการดูแล account และการบริหารจัดการ 
  • หรือสำหรับท่านที่ไม่ความรู้เรื่องการลงทุน ก็อาจจะเลือก Money market, CD เป็นต้น ซึ่งผลตอบแทนต่ำมาก (remember: การเก็บเงินให้ชนะระบบจะต้องได้ผลตอบแทนมากกว่า inflation rate หรือค่าเงินเฟ้อ) จนแทบไม่ได้อะไร ถ้าหักลบกับค่า fees หรือบางคนที่อยากเสี่ยงหน่อย ก็เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงขึ้นมาหน่อยอย่างเช่น กองทุน หรือหุ้น ต่างๆ ข้อเสียคือ ไม่มี downside protection ทำให้เงินสะสมเสี่ยงที่ลดลง ไม่เติบโตเท่าที่ควร [เชื่อไหมว่าเลข 0 จะช่วยคุณเก็บได้มากขึ้นอย่างมหัศจรรย์]

สรุปก็คือ การเก็บสะสมเงินแบบใดก็ตามจุดมุ่งหมายก็คืออยากให้คนเก็บเงิน เพื่อใช้ทุนในการเกษียณอายุ ใครที่คิดจะวางแผนการเก็บเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ควรทำไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ ลองศึกษาดูให้ละเอียดถ่องแท้ก่อนค่ะ ทุกอย่างที่ต้องการให้เรา save เงิน หยกคิดว่ามันดีหมด แต่ว่าอาจจะมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกันไป ต้องศึกษาให้ดีและเลือกการออมที่เหมาะกับสถานะการณ์ของแต่ละคนนะคะ

Disclaimer: ไม่ได้ให้บริการด้าน IRA หรือการเทรด แต่หากท่านอยากสอบถามเรื่องประกันชีวิต หรือเก็บเงินเกษียณผ่านประกันชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อสอบถามกันได้ตลอดเวลาตาม QR code ที่แปะไว้ด้านล่างนะคะ 

Add friend
weChat
FB MSG

Please follow and like us:
fb-share-icon

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Follow by Email
YouTube
YouTube