IRA อะไรคือ ? วันนี้จะมาบอกเล่าให้ฟังหลักเบื้องต้นกันนะคะ IRA นั้นย่อมาจาก Individual Retirement Account เป็นหนึ่งใน Qualified retirement plan ที่ IRS ได้จำแนกไว้ หากใครที่มีรายได้ส่วนตัว หรือว่าทำงานกับบริษัทห้างร้านเล็กที่ไม่ได้มีแพลน 401K ให้ก็สามารถเปิด account นี้ได้ค่ะ หรือการที่จะมี IRA เป็นของตัวเองอีกวิธีหนึ่งก็คือการ Rollover ออกมาจาก 401K ในกรณีที่ไม่ได้ทำงานกับนายจ้างที่มี 401K ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เลิกจ้างหรือว่าเกษียณอายุนะคะ
กฏเหล็กของ IRA คือ
- ถอนเงินออกได้ เมื่ออายุ 59 1/2 ปี หากถอนออกมาก่อน จะโดน penalty 10% (IRS-Hardships, early withdrawals )
- เงินที่ถอนออกมาใช้จะต้องใช้จะต้องจ่ายภาษีตาม tax bracket
- ฝากเงินเข้าไปในบัญชีได้จำกัด $6,000 (สามารถ contribute ได้อีก $1,000 เมื่อท่านอายุ 50 ปี ขึ้นไป) หรือ
- Roll-over ภายใน 60 วัน
ความเข้าใจผิดอย่างยิ่งยวด
- คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การเปิด IRA คือการลงทุนในตัวเอง แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ IRA เป็น qualified retirement plan มีคุณสมบัติคือ เป็น tax-deferred account ทำให้เงินลงทุนที่เติบโตขึ้นภายใน account ไม่เป็นภาษีจนกว่าจะนำออกมาใช้ หลังจากที่เปิด IRA account แล้ว เราต้องเลือกว่าอยากจะให้เงินเติบโตอย่างไร เลือกการลงทุนแบบใด
- คิดว่า IRAs contribution เป็น Tax deduction คุ้มกับการเปิดบัญชี เพียงแค่เอาไว้หักภาษีส่วนบุคคลตอนสิ้นปี
- การไม่ใช้เงิน และเก็บเงินเกษียณ IRA เอาไว้ให้ ลูก หรือหลาน คือเรื่องที่ควรทำ ต้องบอกว่า เป็นเข้าใจผิดอย่างยิ่งยวด หากทำแบบนี้เรื่องที่คุณต้องทำใจไว้ก็คือว่า หากลูกคุณอายุไม่ถึง 59 1/2 ก็ยังใช้เงินก้อนนี้ไม่ได้ไม่อย่างนั้น ก็ต้องโดนค่าปรับ 10% บวกกับภาษีอีก เงินอาจที่จะให้ลูก อาจจะเหลือแค่ครึ่ง ยิ่งถ้าจะยกให้หลานยิ่งแล้วใหญ่ ต้องเจอ Generation skipping tax (หลานที่อายุน้อยกว่าคนให้ 37 1/2 ปี คือโดนภาษี 40% เหมือน Gift tax หนักไปกว่านั้นหากหลานคุณ จำเป็นต้องใช้เงินด่วน ลองจินตนาการดูนะคะ ว่าเงินจะเหลือเท่าไหร่
- เงินใน IRA ไม่สามารถ Loan ออกมาได้เหมือนแพลนที่มีสปอนด์เซอร์ อย่าง 401(k), 403(b) and 457(b) เพราะ IRAs จัดว่าเป็นแพลนแบบ M-150 (🤣🤣🤣 อันนี้ล้อเล่นขำๆ นะคะ ) คือเป็น base plan [plan loan, IRS]
- ไม่สามารถ contribute ต่อได้เมื่ออายุ 70 1/2 ปี
- ไม่สามารถเอาเงินเก็บไว้ในนั้นตลอดได้ เมื่ออายุ 70 1/2 ปี ต้องทำตามกฏ RMDs หรือ Required minimum distributions [RMDs, IRS]
ข้อดีคือ
- เวลาเกษียณนั้น ถอนเงินออกมาไม่จำกัด จะเอาออกน้อยออกมากตามใจพี่เลย!! (แต่เงินหมดแล้วหมดกัน ไม่เหมือน IUL w/ index loan และ annuity )
- เงินที่ contribute เข้าไปใน IRA สามารถนำมาหักภาษีได้ แต่อาจจะไม่ทั้งหมด [2018 IRA Contribution and Deduction Limits]
- เลือกการลงทุนภายใน IRA ได้หลากหลาย
ข้อด้อยของ IRA account
- จำกัดในการ contribution
- หากนำเงินออกมาใช้ก่อนอายุ 59 1/2 โดน 10% penalty
- หากเสียชีวิต เงินที่ตกถึงลูกหลานอาจจะไม่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย อย่างดีสุดได้เท่าเดิม เช่น นายบี มีภรรยาอายุ 59 1/2 ปี มีเงินใน IRA account $100,000 พอเสียชีวิต ภรรยาได้ 100,000 เพราะ roll-over ไปใส่ใน account ตัวเองภายใน 60 วัน แต่ว่าไม่สามารถนำเงินทั้งก้อนออกมาใช้ได้ เพราะหากนำออกมาทั้งก้อน ภรรยานายบีต้องเสียภาษีเต็ม
อีกกรณีหนึ่งคือ นางเอ เป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว มีเงินในบัญชี IRA $200,000 เสียชีวิตกระทันหัน ทิ้งให้ลูก กลายเป็น inherited IRA ลูกนางเอ อายุ 30 ปี ตัดสินใจนำเงินออกมาก่อนอายุ 59 1/2 ปี ทั้งก้อน ลูกนางเอ โดนค่าปรับ 10% + tax ตาม tax bracket - มีค่า Fee ในการดูแล account และการบริหารจัดการ
- สำหรับท่านที่ไม่ความรู้เรื่องการลงทุน ก็อาจจะเลือก Money market, CD เป็นต้น ซึ่งผลตอบแทนต่ำมาก จนแทบไม่ได้อะไร ถ้าหักลบกับค่า fees หรือบางคนที่อยากเสี่ยงหน่อย ก็เลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงขึ้นมาหน่อยอย่างเช่น กองทุน หรือหุ้น ต่างๆ ข้อเสียคือ ไม่มี downside protection ทำให้เงินสะสมเสี่ยงที่ลดลง ไม่เติบโตเท่าที่ควร [เชื่อไหมว่าเลข 0 จะช่วยคุณเก็บได้มากขึ้นอย่างมหัศจรรย์]
สรุปก็คือ การเก็บสะสมเงินแบบใดก็ตามจุดมุ่งหมายก็คืออยากให้คนเก็บเงิน เพื่อใช้เป็นเงินในการเกษียณอายุ ใครที่คิดจะวางแผนการเก็บเงินไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ควรทำไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ ลองศึกษาดูให้ละเอียดถ่องแท้ก่อนค่ะ ทุกอย่างที่ต้องการให้เรา save เงินหยกคิดว่ามันดีหมด แต่ว่าอาจจะมีข้อเด่น ข้อด้อยต่างกันไป
b
Disclaimer: ไม่ได้ให้บริการด้าน IRA หรือการเทรด แต่หากท่านอยากสอบถามเรื่องประกันชีวิต หรือเก็บเงินเกษียณผ่านประกันชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ ติดต่อสอบถามกันได้ตลอดเวลาตาม QR code ที่แปะไว้ด้านล่างนะคะ