fbpx
ความรู้และบริการด้านประกันชีวิตในอเมริกา
ความรู้และบริการด้านประกันชีวิตในอเมริกา

องค์ประกอบและศัพท์สำคัญในประกันชีวิต

องค์ประกอบและศัพท์สำคัญในประกันชีวิต

องค์ประกอบและศัพท์สำคัญในประกันชีวิต

การที่จะทำประกันชีวิตให้ถูกต้องโดยสมบูรณ์นั้น ก็จะต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตในแบบชั่วคราว( Term life insurance)หรือแบบคุ้มครองตลอดชีพ (permanent life insurance) เป็นสิ่งที่คนที่คิดจะทำประกันควรรู้ เพราะทุกองค์ประกอบและคำศัพท์ต่างๆ นั้นล้วนมีความหมายและนัยยะสำคัญในตัวของมันเอง เรามาทำความรู้จักกับองค์ประกอบและศัพท์สำคัญในประกันชีวิตกันเลยดีกว่าค่ะ

องค์ประกอบสำคัญ

 

เชื่อแน่ว่า หลายๆ คนคงจะงงกับคำศัพท์ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ไม่เป็นไรค่ะ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันนะคะ
Policy owner: เจ้าของกรมธรรม์ สามารถเป็นคนเดียวกันกับ insured/proposed insured หรือเป็นคนอื่นก็ได้ เช่น พ่อ แม่ ทำประกันให้ลูกที่ยังเล็ก พ่อ กับแม่ ก็เป็นเจ้าของ policy ให้ลูก หรือ ภรรยาเป็น policy owner ของสามีได้ หรือ employer เป็น policy owner ในกรณีที่ทำเพื่อ Key person
Insured: ผู้ที่ได้รับการประกันจากบริษัทประกัน คนที่เป็น insured อาจจะต้องได้รับการตรวจสุขภาพ ก่อนได้รับการประกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสุขภาพ

Proposed Insured: บุคคลที่ยื่นขอรับการประกัน หากบริษัท approved กรมธรรม์ให้ proposeed insured ก็จะกลายมาเป็น insured ในกรมธรรม์

* Policy owner และ Insured ต้องเป็น Resident กรีนการ์ด หรือเป็น US Citizen เท่านั้นค่ะ ยกเว้นในกรณีที่ทำประกันชีวิตแบบ Foreign national Policy [แนะนำอ่าน: Foreign national ประกันชีวิตสำหรับต่างชาติ]
beneficiary/primary beneficiary:

Contingent/Secondary beneficiary: ผู้รับผลประโยชน์รอง ซึ่งแนะนำว่าต้องมี ในกรณีที่ primary beneficiary เสียชีวิตไปจนหมด ผู้รับผลประโยชน์รองจะได้รับผลประโยชน์ในทันที

Death benefit/Face amount: ทุนประกันหรือความคุ้มครอง

คำศัพท์สำคัญในประกันชีวิต

Accumulation Value  หรือมูลค่าเงินสะสม คือเงินสะสมในเล่มกรมธรรม์ที่บวกดอกเบี้ย

Surrender Value หรือ มูลค่าเวนคืน คือ ในกรณีที่เป็นกรมธรรม์เป็นแบบสะสมเงิน จะมีตารางกำหนด surrender value มีเท่าไหร่ หากเจ้าของกรมธรรม์ขอยกเลิกสัญญา หรือขอยกเลิกประกันชีวิต ก็สามารถรับเงินมูลค่าเวนคืนไปได้ตามตาราง (แต่ระวังจะเป็นภาษี หากในกรณีที่มีการยกเลิกสัญญา และ มี capital gain เกิดขึ้น) แนะนำอ่าน Tax-Free Income

Death Benefit Option

สำหรับผลิตภัณฑ์ของ Universal life และ Indexed Universal life มี Death benefit option เนื่องจากมีการมีทั้งส่วนที่เป็น cash value และ pure insurance บริษัทประกันชีวิตส่วนมากมี 2 options

  • Level บางบริษัทจะเรียกว่า Option A  หรือ option 1 คือ ทุนประกันจะคงเดิม มูลค่าของค่าประกันภัยสุทธิจะลดลง และเงินสะสม Accumulation value จะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงหากถึงจุดคุ้มทุน เงินสะสมจะทบต้นทบดอก เมื่อเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับทุนประกัน จะทำให้ทุนประกันเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ตามกฏคอริดอร์(corridor rule)
    เหมาะสำหรับคนที่ต้องการทำ IUL เป็น long term investment ให้เป็นเงินเกษียณอายุ เพราะตอนที่ดึงเงินออกมาใช้นั้น จะเป็นผลดีมากๆ ที่สำคัญ death benefit option แบบ level นี้ จะทำให้จ่ายเบี้ยประกันถูกกว่าแบบอื่นด้วยค่ะ

optionA

  • Increasing บางบริษัทจะเรียกว่า option B หรือ option 2 ข้อดีคือมูลค่าของเงินสะสม (accumulation value) เพิ่มขึ้น Death benefit หรือทุนประกันก็จะเพิ่มขึ้น มูลค่าประกันภัยสุทธิจะอยู่คงที่ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่หากเวลานานไปก็จะเพิ่มมากขึ้น การจ่ายเบี้ยคงที่ แต่ก็มีข้อเสียคือ premium จะมากขึ้น จ่ายแพงขึ้นหากเทียบกับแบบ option A หรือ level จะมีผลอย่างมากเมื่อทำ IUL เป็น long term investment ให้เป็นเงินเกษียณอายุ เพราะตอนที่ดึงเงินออกมาใช้นั้น จะเป็นผลมากๆ ทีเดียว

death benefit option B

 

Risk Classification หรือ Underwriting Class

คือ การพิจารณารับประกันภัย หรือบางทีเรียกว่า การจัดสรรภัย (Risk classification) คือการพิจารณาบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ขอรับการประกัน(proposed insured) ให้ได้รับความคุ้มครอง โดยการใช้สุขภาพของ proposed insured และอัตราการมรณะ(Mortality rate)ที่บริษัทประกันชีวิตใช้ในการพิจารณาความเสี่ยง insured แต่ละคน โดยใช้อายุ น้ำหนัก การสูบบุหรี่หรือไม่สูบบุหรี่ โดยมีกำจำแนก rating ดังต่อไปนี้

สำหรับคนไม่สูบบุหรี่ (Non-Tobacco)

  • Super preferred หรือ preferred plus คือ เรทสุขภาพดีเยี่ยม สำหรับคนที่สุขภาพเยี่ยม น้ำหนักได้ตามสัดส่วน
  • Preferred คือ classification คือ เรทสุขภาพดี สำหรับคนสุขภาพดีรองลงมา
  • Standard คือ เรทสุขภาพปกติ
  • Sub-standard คือ เรทสุขภาพสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ก็จะมี Table Risk Rating เพื่อแยกย่อยความเสี่ยงตามลำดับ Table 0, Table A – Table P หรือ Table rating เป็นตัวเลขจสำหรับบางบริษัท แต่ประกันชีวิตแบบ Term นั้นจะไม่มี substandard

สำหรับคนที่สูบบุหรี่ (Tobacco)

  • Preferred Tobacco คือ เรทสุขภาพดี สำหรับคนสุขภาพดีรองลงมา สำหรับคนที่สูบบุหรี่นั้น risk class หรือ underwriting class จะไม่มี Super preferred rate
  • Standard Tobacco คือ เรทสุขภาพปกติ สำหรับคนที่สูบบุหรี่
  • Sub-standard คือ เรทสุขภาพสำหรับคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ สูบบุหรี่ ก็จะมี Table Risk Rating เช่นกัน เพื่อแยกย่อยความเสี่ยงตามลำดับ Table 0, Table A – Table P หรือ Table rating เป็นตัวเลขจสำหรับบางบริษัท แต่ประกันชีวิตแบบ Term นั้นจะไม่มี substandard

เชื่อหรือไม่ ว่าปกติแล้วคนส่วนใหญ่หลังจากที่ได้กรมธรรม์มาแล้ว ไม่ได้อ่าน หรือไม่ได้สนใจว่าตัวเองได้อะไรมา ซื้อเพราะคิดว่าดี หรือซื้อเพราะคนแนะนำมา จริงๆ แล้วเราควรจะอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับกรมธรรม์ที่เราได้มาค่ะ ว่าได้อะไรมา และมีประโยชน์อะไร หากท่านใดที่มี language barrier ก็สามารถให้ agent สรุปคร่าวๆ ให้ฟังก็ได้ค่ะ เขายินดีบริการเราอยู่แล้ว า อย่าลืมนะคะว่า กรมธรรม์เล่มหนึ่งบางทีต้องจ่ายหลายหมื่น ฉะนั้นต้องรักษาผลประโยชน์เราให้ดีคะ

Please follow and like us:
fb-share-icon

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Follow by Email
YouTube
YouTube